Take a fresh look at your lifestyle.

สีดูลักซ์ แนะเทคนิคสังเกตบ้าน(ที่มีน้ำ)ซึมพร้อมวิธีรับมือในหน้าฝน

สีดูลักซ์ แนะเทคนิคสังเกตบ้าน(ที่มีน้ำ)ซึพร้อมวิธีรับมือในหน้าฝน

  • ใหม่ Dulux Aquatech RoofSeal ที่มีเทคโนโลยี Hydroresist ปกป้องบ้านจากน้ำรั่วซึม

(10 สิงหาคม 2566) กรุงเทพฯ– อั๊คโซ่โนเบลผู้ผลิตและจำหน่ายสีดูลักซ์แนะหน้าฝนอย่ามองข้ามปัญหาน้ำซึมเข้าตัวบ้านอาจทำให้เกิดปัญหาบานปลาย เผยเทคนิคสังเกตบ้านที่มีน้ำซึมพร้อมวิธีรับมือเปิดตัวDulux Aquatech RoofSeal (ดูลักซ์อควาเทครูฟซีลสีอะครีลิคกันซึมที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี Hydroresist ชั้นฟิล์มกันน้ำยืดหยุ่นสูง6-8 เท่า ที่สุดของการปกป้องไม่รั่วไม่ซึมไม่ร้อนทนนานเพื่อการปกป้องทั้งหลังคาดาดฟ้าและผนัง

 น้ำอาจกลายเป็นปัญหาหนักอก เมื่อเกิดการรั่วซึมเข้าบ้านที่มีสาเหตุจากฝนและความชื้น ความชื้นจากใต้ดิน พื้นผิวไม่มีคุณภาพทำให้เกิดการขยายตัวและรอยแตกร้าว หรือน้ำรั่วซึมจากท่อ จุดระบายน้ำเสีย ปั๊มน้ำ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดผลเสียบานปลายได้ สีดูลักซ์แนะ เทคนิคสังเกตอาการบ้านที่อาจมีปัญหาน้ำรั่วซึม 

  • สีที่ควรสวยหมดจด กลับไม่สม่ำเสมอ หย่อมสีที่ไม่สม่ำเสมอและหย่อมขึ้นสนิม และเชื้อราที่ไม่น่าดู อาจเป็นสัญญาณว่ามีน้ำเริ่มซึมเข้าผนัง
  • จุดที่ควรเรียบกลับลอกเป็นแผ่น หมั่นตรวจจุดเสี่ยงจากปัญหาน้ำ ทั้ง ผนังภายนอกและระเบียง หรือบริเวณที่ใช้น้ำเป็นประจำ เช่น ห้องครัว ห้องซักรีด ห้องน้ำ เพดาน หรือหน้าต่างและผนังภายในอาจเสียหายจากท่อแอร์รั่ว
  • จุดที่ควรจะแห้งกลับเปียกชื้น หากพบพื้นที่เปียกโดยไม่มีสาเหตุ อาจเป็นฝ้าเพดานรั่ว แม้ว่าหลังคามักเป็นสาเหตุของเพดานรั่ว แต่อย่ามองข้ามจุดอื่นๆ เช่น ท่อน้ำรั่วจากห้องครัวและห้องน้ำ ฝ้าเพดานรั่วอาจเกิดจากน้ำซึมเข้าจากผนัง หน้าต่างหรือพื้น เป็นต้น
  • จุดที่ควรสดชื่น กลับอับเฉา หากได้กลิ่นอับเป็นไปได้ว่าอาจมีน้ำซึมเข้าบ้าน การสัมผัสกับเชื้อราและโรคราน้ำค้างเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้

ตลาดรีโนเวตเป็นตลาดที่มีศักยภาพ เนื่องจากบ้านมือสองมีราคาที่ถูกกว่าบ้านใหม่ และมีทำเลเหมาะสม จากข้อมูลศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) พบว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองทั่วประเทศ ในไตรมาส 2 ปี 2565 มีจำนวนหน่วยเฉลี่ยต่อเดือนมากถึง 162,716 หน่วย เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 17.9% โดยเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเภทที่อยู่อาศัย1

คุณวสันต์ เหนะติกาละ Commercial Director SEAP บริษัท อั๊คโซ่ โนเบล เพ้นท์ส (ประเทศไทยจำกัด กล่าวว่า อั๊คโซ่ โนเบล พัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สีกันซึม Dulux Aquatech RoofSeal มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันปัญหารั่วซึม โดยให้การปกป้องฟิล์มสีไม่ลอกล่อน 5 ปี เหมาะสำหรับสภาพอากาศของประเทศ ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณตอบโจทย์นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของบ้าน ที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ครบวงจรทั้งสีกันซึมและสีทาอาคารในยี่ห้อเดียวเพื่อการปกป้องอย่างสมบูรณ์แบบ

 Dulux Aquatech RoofSeal มีเทคโนโลยี Hydroresist  ประกอบเป็นชั้นป้องกันน้ำซึมผ่าน ฟิล์มสีมีความยืดหยุ่นสูง 6-8 เท่า2เมื่อเทียบกับสีทั่วไป ช่วยปกปิดรอยแตกร้าวขนาด 2 มมผสานรูพรุนบนพื้นผิวช่วยป้องกันน้ำไหลซึม ป้องกันเชื้อราและตะไคร่น้ำ3 ผ่านเกณฑ์มอกสีทนสภาวะ และมอกสีอิมัลชันลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ช่วยสะท้อนความร้อนจากรังสียูวี ลดอุณหภูมิพื้นผิว สามารถใช้ได้ทั้งงานแนวราบ เช่น หลังคา ดาดฟ้า รวมถึงงานแนวตั้งสำหรับทาผนังภายนอก

ขั้นตอนรับมือบ้านซึมที่เกิดจากน้ำฝนด้วยตัวเอง

ขั้นตอน1 : เตรียมพื้นผิว

  • ล้างทำความสะอาดคราบสกปรกบนพื้นออกด้วยน้ำสะอาด
  • หลังจากนั้นลงน้ำยาฆ่าเชื้อราตะไคร่น้ำ Dulux Mould Wash ทาทิ้งไว้ 24 ชม แล้วล้างออก

ขั้นตอน 2 : ซ่อมแซม

  • บริเวณที่มีรอยแตกร้าว อุดโป๊วด้วยสีโป๊ว ดูลักซ์ อะครีลิค วอลล์ฟิลเลอร์

ขั้นตอน 3 : ทาสีกันซึม

  • เที่ยวที่ 1 : ทารองพื้นโดยใช้สีดูลักซ์ อควาเทค รูฟซีล ผสมน้ำ 30%  บริเวณที่มีรอยแตกร้าวหรือขอบผนังกำแพงให้ปูด้วยตาข่าย fibermesh แล้วทาทับด้วยสีดูลักซ์ อควาเทค รูฟซีลเพื่อเสริมการยึดเกาะและเสริมความแข็งแรง
  • เที่ยวที่ 2 : ทาสีกันซึม ดูลักซ์ อควาเทค รูฟซีล ไม่ต้องผสมน้ำ โดยทำมุมตั้งฉาก 90 องศากับเที่ยวแรก ทิ้งให้แห้ง
  • เที่ยวที่ 3: ทาสีกันซึมเป็นมุมตั้งฉาก 90 องศากับเที่ยวก่อน  เพื่อเสริมความแข็งแรงพื้นผิว ทิ้งให้แห้งสนิท

 ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็บไซต์ http://www.dulux.co.th/และติดตามโซเชียลมีเดีย https://www.facebook.com/DuluxThailand

 อ้างอิง1ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. ตุลาคม 2565. สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองทั่วประเทศ ไตรมาส ปี 2565ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC).

2ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D412

3ทดสอบโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ตามมอก. 2321-2564